Image 01

การแก้ไขปัญหาพิมพ์งานไม่ตรง | การทำ Overlap ของสี

ในกระบวนการพิมพ์งาน เพื่อให้สีพิมพ์พิมพ์ชนกันพอดี ในทางปฎิบัติเป็นไปได้ค่อนข้างยาก เหตุผลเพราะว่าในระบบที่พิมพ์ที่เรียกว่าระบบออฟเซ็ทนั้น ใช้หลักวิธีการพิมพ์แยกเพลทแม่สี ทีละสีแล้วค่อยมาพิมพ์ทับ ๆ กันเพื่อให้เกิดภาพพิมพ์

ดังนั้นปัญหาจึงเกิดว่า จะทำอย่างไรเพลทแม่พิมพ์แต่ละสีเมื่อเวลามาพิมพ์ทับกันแล้ว
จะตรงกันพอดี ฟังดูก็เหมือนง่าย เพราะแค่ช่างพิมพ์ตั้งแท่นพิมพ์ให้ตรงกันซะอย่าง เรื่องนี้ก็ไม่ใช่ปัญหา

ในตอนนี้เราจะมาคุยกันในเรื่องปัญหาที่เกิดจากการพิมพ์ไม่ตรง เมื่อพิมพ์ไม่ตรงการเหลี่อมล้ำของสีก็เกิดขึ้น และถ้าเป็นสีที่ต้องชนกันพอดี ก็จะเกิดเส้นสีขาวของกระดาษโผล่มาให้เห็นอีกต่่างหาก

ในการแก้ปัญหานั้นหากการพยายามตั้งแท่นให้ตรงแล้วยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ต้องย้อนกลับไปแก้ไขไฟล์งานที่ output plate วิธีการก็คือ ต้องทำสีในตำแหน่งที่เหลื่อม ให้ซ้อนทับกันเล็กน้อย

ภาพที่ 1 :

นี่คือภาพเมื่อเราต้องการพิมพ์ออกมาให้งานมีความตรงกัน และไม่มีการเหลื่อมของสีพิมพ์มากจนเกินไป และที่สำคัญงานพิมพ์ที่มีคุณภาพนั้น ไม่ควรที่ จะเห็นสีขาวของเนื้อกระดาษโผล่ออกมาให้เห็น

ให้สังเกตุว่าสีแดงและสีฟ้าที่ชนกันพอดีนั้น เกิดจากการพิมพ์ที่มีความตรงและแม่นยำของเครื่องพิมพ์ ซึ่งในระบบออฟเซ็ทก็ต้องระมัดระวังในส่วนตรงนี้พอสมควร ซึ่งต่างจากงานพิมพ์ในระบบดิจิตอลปรินท์ เพราะหลักการพิมพ์ไม่เหมือนกัน

 


ภาพที่ 2
:เมื่องานพิมพ์ไม่ตรงภาพที่ออกมาเราจะเห็นว่ามีเส้นสีขาวของกระดาษโผล่มาให้เห็น ซึ่งหากงานพิมพ์ที่ต้องการเน้นความสวยงามก็อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายได้

แนวทางและวิธีแก้ไขปัญา

นอกการตั้งพิมพ์แล้วยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ก็ต้องกลับไปแก้ไขที่เพลท ซึ่งในขั้นตอน การแก้ไขต้องให้ผู้ที่เตรียมไฟล์แยกสีให้คำสั่งสี ให้เหลื่อมเข้ามานิดหน่อย โดยหลักการทำ Overlap ของสีในงานพิมพ์นั้น สีอ่อนมักจะต้องเหลื่อมเข้าไปในสีเข้มเสมอ เพราะจะสามารถแก้ไขปัญหาเกิดเส้นขอบที่บวมได้ ยกตัวอย่างสีฟ้าอ่อน หากเกิดปัญหา
แล็ปขาวกับสีน้ำเงินเข้ม ในแนวทางการทำ Overlap ของสี ก็ต้องทำสีฟ้าอ่อนเข้าไปในสีน้ำเงิน เพราะเมื่อทั้งสองสีพิมพ์ทับกันแล้ว ก็จะไม่ขึ้นขอบ (สีฟ้ากับน้ำเงินพิมพ์ทับกันก็ได้สีน้ำเงินเช่นเดิม)

ซึ่งหากผู้ที่ยังไม่เข้าใจหรือยังนึกภาพไม่ออกว่าสีใดพิมพ์ทับกันแล้วจะออกมาอย่างไร ก็อาจจะต้องศึกษาเพิ่มเติมกันภายหลัง

ภาพที่ 3 : เมื่อทำให้สีฟ้ากินเข้ามาในพื้นที่สีแดง ก็จะได้เหมือนกับภาพด้านบน

ดังที่ได้กล่าวไปเบื้องต้นแล้วว่า หากสีเหลื่อมเข้าไปมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะเกิดเส้นขอบ
ก็มีสูง ในภาพตัวอย่างเราจะเห็นว่าเส้นสีขาวของกระดาษได้หายไปแล้ว แต่ก็เกิดปัญหา
ใหม่ขึ้นมาอีกนั่นก็คือ เกิดเส้นสีน้ำเงินขึ้นมาแทน

การทำ Overlap นั้นเราจะต้องมีความเข้าใจในเรื่องของสีระดับหนึ่งก่อน ไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะจินตนาการไม่ออกเลยว่าเมื่อเราทำ Overlap แล้วภาพพิมพ์จะออกมาอย่างไร? ในภาพนี้แน่นอนว่าสีฟ้ากับแดงเมื่อเจอกันก็ต้องออกเป็นสีน้ำเงินเข้มเห็นชัดเจน
ในการสั่ง Overlap อาจจะต้องระมัดระวังและให้สีกินเข้ามาแค่นิดหน่อย เพื่อไม่ให้เกิดเส้นขอบ แต่ถ้าเป็นสีที่มีความเข้มอย่างที่ได้ยกตัวอย่างสีดำ ก็สามารถให้สีกินเข้าไปได้มากเท่าไหร่ก็ได้ เพราะพิมพ์ออกมาแล้วก็เกิดเป็นสีเดียวกัน

ในคำสั่ง Overpint ก็สามารถเข้าไปได้ที่ memu / windows / Attributes

ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยเล็ก ๆ อื่นเกี่ยวกับการทำ Overlap ก็มีอีกไม่น้อย แต่หลัก ๆ หากเข้าใจในพื้นฐานการทำงาน ก็สามารถนำไปประยุกต์หรือปรับใช้เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันได้

เรื่องการทำ Overlap ของสีไม่ใช่เรื่องยาก และเรื่องงานพิมพ์ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ หากว่าเราเข้าใจมันอย่างถูกต้องและแท้จริง

 

 

Comments

Leave your comment