Image 01

ขั้นตอนการทำเพลท | เพลทซีทีพี (Ctp)

ขั้นตอนการทำเพลท / เพลทแม่พิมพ์คืออะไร?

หากคนที่ไม่เคยอยู่ในวงการพิมพ์ ส่วนใหญ่แล้วอาจจะงงอยู่สักหน่อยเมื่อได้ยิน คำว่า "เพลท" แล้วศัพท์ที่วงการสิ่งพิมพ์เรียกกันนั้น แท้จริงแล้วมันคืออะไร? หน้าที่ของมันทำอะไรได้บ้าง

หน้าที่หลักของเพลทไม่มีอะไรซับซ้อน เพราะมันก็คือแม่พิมพ์ธรรมดานี่เอง เพลททำมาจากแผ่นโลหะบางๆ เคลือบด้วยสารเคมี

ขนาดของเพลท (แม่พิมพ์) มีหลายขนาดอยู่ที่ว่าโรงพิมพ์จะใช้เครื่องตัวไหนพิมพ์ หลัก ๆ แล้วขนาดเพลทก็มีอยู่ ตามขนาดของเครื่องพิมพ์ อย่างเช่น เครื่องตัด 2
เครื่องตัด 4, ตัด 3, ตัด 5 เป็นต้น

เพลทตัด 2 ขนาดอยู่ที่ 700 x 1030 mm ตัดสี่ 550 x 650 mm แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขนาดจะเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับโรงพิมพ์แต่และแห่ง

เพลทมีการแยกสีพิมพ์อย่างไร? เพลท 1 แผ่นคือแม่พิมพ์ 1 สี หากงานพิมพ์มีจำนวนหลายสี เพลทก็ต้องมีตาม จำนวนสีที่พิมพ์ อย่างเช่น พิมพ์งาน 1 สี (ดำ) ก็ต้องออกเพลท 1 แผ่น เพื่อส่งให้โรงพิมพ์ ถ้าพิมพ์งาน 4 สี ก็ต้องออกเพลท 4 แผ่น

ก่อนจะมาเป็นเพลท ต้องผ่านกระบวนการทำงานอะไรมาบ้าง? กว่าจะออกมาเป็น โบว์ชัวร์, หนังสือสวย ๆ สักเล่มนั้นผ่านกระบวนการผลิตมาหลายขั้นตอนไม่ใช่น้อย ในที่นี้เราจะมาดูว่ากระบวนการทำเพลทแม่พิมพ์นั้นมีขั้นตอนอย่างไร?

ในการทำเพลทปัจจุบันกระบวนการง่ายไม่ซับซ้อนเหมือนเมื่อสัก 10 ปีก่อน ด้วยเพราะว่าเทคโนโลยีได้พัฒนามากขึ้น จากเมื่อก่อนเราจะต้องเอาไฟล์งานมาพรินท์เป็นฟิล์มใส ๆ หากงาน 4 สีก็ต้องพรินท์ฟิล์ม 4 แผ่น แล้วค่อยเอาฟิล์มนั้นไป
ผ่านเครื่องอัดเพลท (ซึ่งใช้วิธีการฉายแสง)

ในกระบวนการแยกสีนั้น จะมีผู้ชำนาญในการแยกสีเพื่อเข้าสู่โรงพิมพ์คอยดูแล โดยใช้เครื่อง image setter ช่วยในการแยกสีทำเพลท

 

 

 


 

รูปภาพแสดงการแยกสีของเพลท ในโหมด CMYK

ในอดีตมีขั้นตอนหลัก ๆ ก็คือ จากไฟล์ เป็นฟิล์ม แล้วค่อยเป็นเพลท แต่ปัจจุบัน ได้ตัดกระบวนการออกฟิล์มไปแล้ว (แต่ก็ยังมีบางโรงพิมพ์ที่ต้องการใช้ฟิล์มอยู่) เรียกว่า ระบบเพลท Ctp (computer to plate) ระบบคอมพิวเตอร์ทูเพลทนั้นทำให้การทำงานมีความรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น เพิ่มอัตราการผลิต และมีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ

หากเป็นการทำเพลทในอดีตต้องใช้แรงงานค่อนข้างเยอะ ประสิทธิภาพในการทำงานก็ถือว่ายังไม่เป็นมาตรฐาน แต่พอมีระบบการออกเพลทตรงจากคอมพิวเตอร์นั้นทำให้ลดจำนวนการใช้คนลงไปได้มาก และก็ทำให้งานมีคุณภาพมากขึ้น

ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้การผลิตงานพิมพ์ไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไป

Comments

Leave your comment