Image 01

กระบวนการผลิตงานสิ่งพิมพ์ (1)

ในเครื่อข่ายของการโฆษณา หากกล่าวถึงสาขาต่างๆ ของงานกราฟิกส์ มีหลายสาขามากมายไม่ว่าจะเป็น

- งานออกแบบแอนิเมชั่น (Animation)
- งานออกแบบเว็บไซต์
- งานออกแบบตัวอักษรต่าง ๆ
- งานออกแบบประเภทมัลติมีเดียทุกชนิด

และที่กำลังจะกล่าวต่อไปก็คือ งานกราฟิกส์ในสาขาของสื่อสิ่งพิมพ์

ในกระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ มีหลายขั้นตอนอยู่พอสมควร ซึ่งแต่ละขั้นตอนหากทำงานอย่างไม่ถูกต้องตามหลักการพิมพ์ ก็จะทำให้งานในขั้นตอนถัดไปเกิดปัญหาได้ ดังนั้นหากจุดเริ่มต้นของการผลิตสิ่งพิมพ์ทำงานอย่างถูกต้อง ก็จะทำให้งานในส่วนถัดไปไม่เกิดปัญหา และงานออกมาสมบูรณ์ตรงตามที่เราต้องการ

กระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์ ในที่นี้เราจะยกตัวอย่างการผลิตหนังสือสักเล่ม
ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังต่อไปนี้

1. จัดหาต้นฉบับ หรือเนื้อหาที่ต้องการ

2. ส่งให้บรรณาธิการตรวจสอบและวิเคราะห์ หรือปรับแก้เนื้อหาบางส่วนหากเห็นว่าสมควร (โดยเจ้าของต้นฉบับต้องรับทราบและยินยอมด้วย)ซึ่งหากต้นฉบับผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการแล้ว ก็รวบรวมเนื้อหา
หรือรูปภาพประกอบทั้งหมด (ถ้ามี) ให้ทางฝ่ายศิลป์ เพื่อจัดวางรูปแบบอาร์ตเวิร์คต่อไป

3. การจัดวางเนื้อหาและกำหนดรูปแบบในขั้นตอนนี้อาจจะมีการปรึกษาหารือกันหลายฝ่าย แต่ในส่วนของกราฟฟิคส์
แล้วฝ่ายศิลป์จะต้องรับผิดชอบ ซึ่งตรงนี้ ถือว่าสำคัญไม่น้อยสำหรับการผลิตสิ่งพิมพ์ เพราะไฟล์งานที่จะส่งให้ทางโรงพิมพ์นั้นต้องเป็นไฟล์งานที่ถูกต้องตามหลักการพิมพ์

ซึ่งต้องบอกว่าหากนักกราฟฟิกส์ดีไซน์ไม่มีความรู้เรื่องหลักการพิมพ์แล้วจะทำให้การผลิตงานเกิดปัญหาขึ้นในภายหลังได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการให้ค่าสี,ขนาด,รูปแบบการเข้าเล่ม,จำนวนหน้า,ระบบสี, หรือรูปภาพบางโหมดบางประเภทที่ไม่เหมาะกับงานพิมพ์ หรือข้อจำกัดบางอย่างที่งานพิมพ์ไม่รองรับ อีกทั้งปัญหาที่จะเกิดตามมาภายหลัง หากว่าไม่มีการวางแผนการผลิตที่ถูกต้องและเหมาะสมนั่นก็คือ ค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถควบคุมได้ เมื่อถึงขั้นตอนกระบวนการพิมพ์

ในบทนี้เราจะมาคุยกันในเรื่องการลดค่าใช้จ่ายที่เกินจำเป็นความจริงแล้วความได้เปรียบของการผลิตงานประเภทสิ่งพิมพ์
ให้ประหยัดการลดต้นทุนการผลิตในงานพิมพ์ไม่ใช่เพียงอยู่ในขั้นตอนของโรงพิมพ์เพียงอย่างเดียวแต่อยู่ในทุกขั้นตอน
การผลิตเพราะสิ่งสำคัญก็คือการวางแผนการผลิตตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงกระบวนการสุดท้าย อย่างเช่น

- การกำหนดขนาดและรูปแบบของหนังสือ เพื่อให้ไม่ต้องเสียเศษกระดาษ
ในการพิมพ์

- การกำหนดจำนวนสีพิมพ์ เช่น จะพิมพ์ 1 สี และ 2 สี จำนวนกี่หน้า หรือต้องการพิมพ์ 4 สี จำนวนกี่หน้า

- การกำหนดขนาดตัวหนังสือให้เหมาะสม เพราะหากตัวหนังสือมีขนาดใหญ่จนเกินไปก็จะทำให้จำนวนหน้าเพิ่มมากขึ้น

- การกำหนดเผื่อขอบกระดาษ (Margins) ต้องเผื่อขอบกระดาษอย่างเหมาะสมไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไปเพราะการเข้าเล่มก็จะทำงานได้ง่าย หากตัวหนังสืออยู่ชิดขอบจนเกินไป อาจจะมีผลตอนเจียนแล้วตัวหนังสือหาย หรือเมื่อเข้าเล่มแล้ว ตัวหนังสือเข้าไปในสันมากเกินจนไม่สามารถ
เปิดอ่านได้

รูปภาพนี้ แสดงให้เห็นว่าการเผื่อขอบกระดาษและขนาดของตัวหนังสือที่ไม่เหมาะสมนั้น ย่อมมีผลต่อกระบวนการผลิต หากมีการปรับแก้ไขใหม่ความยุ่งยากเกิดขึ้นแน่นอน เพราะจะต้องจัดอาร์ตเวิร์ค และปรับ wordingใหม่ทั้งหมดยิ่งจะทำให้เสียเวลาเพิ่มขึ้นไปอีก

เราะจะเห็นว่าแค่การเผื่อขอบกระดาษที่ไม่ถูกต้องหรือขนาดฟอนด์ไม่เหมาะสมนั้น ก็มีผลต่อการผลิตในขั้นตอนต่อไปและยังมีอีกหลากหลายขั้นตอนผลิต ซึ่งจะได้กล่าวในตอนต่อไป

Comments

Leave your comment