Image 01

กระบวนการผลิตงานสิ่งพิมพ์ (จบ)

ขั้นตอนการนำเพลทเข้าสู่กระบวนการพิมพ์ ในขั้นตอนนี้ไม่ค่อยยุ่งยากมากนัก เพราะส่วนใหญ่ก็จะใช้เครื่องจักรทำงานแทน ซึ่งต่างจากกระบวนการก่อนหน้านี้ ที่ต้องใช้ผีมือและความชำนาญของคนทำงาน

ช่างพิมพ์ก็จะตั้งเครื่องพิมพ์ โดยใส่โมละ 1 แม่พิมพ์สิ่งที่ช่างพิมพ์ต้องดูแลในระหว่างการพิมพ์ก็จะมีเรื่องของสีสันของงาน ต้องให้ตรงตามที่ลูกค้าต้องการมากที่สุด หากสีไม่ได้ตามตัวอย่างที่ลูกค้าต้องการ ช่างพิมพ์ก็จะคอยปรับลดควบคุมการปล่อยสี

ซึ่งในการปรับควบคุมสีที่หน้าแท่นพิมพ์นั้น สามารถทำได้ในความเข้มและอ่อนบวกลบไม่เกิน 10% แต่ถ้ามากกว่านั้นอาจจะต้องปรับแก้ไขที่เพลทแม่พิมพ์ หากว่าสียังไม่ได้ตามที่ลูกค้าต้องการ

หลังจากกระบวนการพิมพ์เสร็จแล้ว หลังจากนั้นก็จะเป็นขั้นตอนการเข้าเล่มซึ่งการเข้าเล่มนั้นก็จะมีเครื่องช่วยทำงาน การเข้าเล่มหนังสือส่วนใหญ่ก็จะเป็นงานเย็บกลาง (เย็บมุงหลังคา) และงานเข้าเล่มแบบในกาว ซึ่งก็อยู่ที่สเป็คงานตามที่ได้ตกลงกันก่อนการผลิต

ยังมีอีกหนึ่งขั้นตอนที่ลืมบอกไป หากมีการเคลือบปกหรือเพิ่มรายละเอียดอย่างเช่นทำ Spot Uv, เคลือบ pvc, ปั้มนูน, เคทอง ฯลฯ หรืออะไรต่าง ๆ ที่หน้าปก ก็จะต้องทำก่อนที่จะเข้าเล่ม แล้วก็ตัดเจียนให้ได้ตามสเป็กงานที่ต้องการ

หนังสือมากมายในยุคปัจจุบัน ถูกพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ทเป็นส่วนใหญ่

การพิมพ์หนังสือขั้นตอนก็ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด บทต่อไปเราจะมาคุยกันเรื่องของ Packaging บ้าง เพราะ Process การทำงานค่อนข้างจะยุ่งยากซึ่งเราจะสังเกตุได้จาก Package ของสินค้าทุกวันนี้ ต่างก็พยายามออกแบบมาเพื่อให้โดดเด่นกว่าคู่แข่งอยู่เสมอ

ที่สำคัญ Packaging สวย ๆ ที่เราเห็นวางขายกันอยู่ทั่วไปแม้มูลค่าจะดูเหมือนแพง แต่แท้จริงแล้วหากเราสามารถลดค่าใช้จ่ายในบางขั้นตอนลงได้ ราคาของกล่องสินค้านั้นก็ไม่ได้แพงอย่างที่คิด

ซึ่งในส่วนของ Packaging ค่อยมาคุยกันในบทความต่อไป

By : FileOpenDecember 22, 2016Design | Printing | Offset | Ondemand0 comments

Comments

Leave your comment