Image 01

กระบวนการผลิตงานสิ่งพิมพ์ (3)

ดังนั้นบุคลากรในส่วนตรงนี้ก็มีความสำคัญ ในบางโรงพิมพ์เจ้าหน้าที่ก็จะระบุดัมมี่เลย์มาให้ทางร้านเพลท แต่บางครั้งโรงพิมพ์ก็มอบหมายหน้าที่นี้ให้กับร้านแยกสีเลย แต่ถึงอย่างไรในขั้นตอนก่อนพิมพ์ก็จะต้องมีการรีเช็คกันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อลดความเสียหาย

ในส่วนของการแยกสีนั้น หลายท่านก็คงคิดว่าในระบบของคอมพิวเตอร์นั้นก็มีการแยกสีให้อยู่แล้ว ทำไมต้องจะต้องมีบุคลากรที่ชำนาญให้ยุ่งยาก ในส่วนตรงนี้ก็ขออธิบายไว้ตรงนี้ว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นก็มีส่วนช่วยในการแยกสีได้ระดับหนึ่ง

แต่บุคลากรที่มีความชำนาญนั้นจะคอยตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง เพราะในระบบการพิมพ์นั้น โปรแกรมบางอย่างไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่า งานที่พิมพ์ออกมาจะเป็นอย่างไร หรือมีความถูกต้องเพียงใดอย่างเช่น สีพิเศษหรือตัวหนังสือสีดำต้องพิมพ์ทับ หรือพื้นสีดำจะหากให้งานออกมาดูดำสนิท จะต้องมีสีฟ้ารองไว้ 40-50% บางจุดหากเห็นว่างานที่จะพิมพ์ออกมาอาจจะมีความเหลือมล้ำของสี ในส่วนตรงนี้ทางร้านแยกสีก็จะแก้ไขให้เลย ซึ่งรายละเอียดปลีกย่อยเล็ก ๆ เหล่านี้มีผลต่องานพิมพ์ทั้งสิ้น

และนี่คือส่วนได้เปรียบของร้านแยกสีบางที่ ซึ่งให้บริการกับทางโรงพิมพ์ บางโรงพิมพ์ใช้บริการของร้านแยกสีด้วยเพราะคุณภาพเหล่านี้ ทั้งที่ราคาก็ไม่ได้ถูกไปกว่าร้านอื่น ๆ แต่เพราะคุณภาพจึงทำให้โรงพิมพ์ไม่กล้าที่จะย้ายไปทำเพลทที่
อื่นเลย

ก่อนหน้านี้ยังค้างขั้นตอนการทำงานของร้านแยกสีกับทางโรงพิมพ์ไว้ ซึ่งจะได้กล่าวดังต่อไปนี้

เมื่อรับไฟล์งานจากทางโรงพิมพ์แล้ว ในขั้นตอนนี้ก็จะทำการแยกสี แล้วเลย์เป็นกรอบเพื่อทำเพลท แต่ก่อนทำเพลทจริงนั้น ต้องมีการปรินท์ให้ทางลูกค้าตรวจสอบก่อนพิมพ์ ซึ่งอาจจะเป็นการพิมพ์ในระบบดิิจิตอลก่อน เพราะเป็นวิธีการเดียวที่จะเซฟ
ค่าใช้จ่ายลงได้ เมื่อปรินท์ดิจิตอลให้ลูกค้าตรวจแล้ว หากมีการแก้ไขก็จะต้องปรินท์หน้าที่แก้ไขเหล่านั้น ให้ทางลูกค้าตรวจสอบและมีการเซ็นอนุมัติก่อนทำเพลท

เมื่อผ่านการตรวจปรู้ฟเรียบร้อยแล้ว ทางร้านแยกสีก็จะทำการออกเพลทเพื่อส่งให้ทางโรงพิมพ์ต่อไป บางกรณีที่เป็นงานหนังสือที่ค่อนข้างเน้นความถูกต้องและสวยงาม โดยเฉพาะในส่วนของสีสัน (ส่วนใหญ่จะเป็นงานหนังสือแฟชั่น) ซึ่งระบบดิจิตอลนั้น สีสันอาจจะไม่ตรงกับงานพิมพ์จริงร้อยเปอร์เซ็นต์

ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่างานที่พิมพ์ออกมานั้น สีสันจะมีความถูกต้องดังที่ต้องการ จะต้องทำการจำลองงานพิมพ์โดยการนำเพลทนั้นไปปรู้ฟแท่นจริงก่อน ซึ่งการปรู้ฟแท่นนี้ก็เปรียบเสมือนการจำลองงานพิมพ์จริงเลยทีเดียว

แต่ในการปรู้ฟแท่นจริงก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาอีกนิดหน่อย แต่หนังสือบางเล่มลูกค้าก็ยอมจ่าย เพราะหมายถึงว่าเป็นขั้นตอนที่จะตรวจสอบความถูกต้องก่อนพิมพ์จริงได้เกือบ 100% การปรู้ฟแท่นนี้ โดยส่วนมากก็จะมีร้านให้บริการอยู่ไม่น้อย ซึ่งส่วนใหญ่ก็ทำงานได้รวดเร็ว งานหนังสือ ส่วนใหญ่ก็ใช้เวลาการทำปรู้ฟแท่นแค่วันเดียว ลูกค้าก็ได้ตรวจดูความถูกต้อง แล้วเรื่องสีสันนั้นในระบบนี้จะมีความถูกต้องใกล้เคียงกับงานพิมพ์มากที่สุด

ซึ่งลูกค้ามั่นใจได้ว่างานพิมพ์จริงที่ออกมานั้นจะตรงตามที่ต้องการอย่างแน่นอน
สำหรับการนำเพลทเข้าสู่โรงพิมพ์นั้นจะได้กล่าวในตอนต่อไป

(อ่านต่อในตอนต่อไป)

Comments

Leave your comment