Image 01

กระบวนการผลิตงานสิ่งพิมพ์ (2)

หลังจากในตอนที่แล้วได้กล่าวถึงการเผื่อขอบเขตงานให้พอเหมาะ
ไม่มากหรือน้อยจนไป ในบทนี้เราจะกล่าวถึงขั้นตอนการผลิตงานพิมพ์ หลังจากที่จัดเตรียมอาร์ตเวิร์คเสริ็จเรียบร้อยแล้ว

ก่อนส่งงานให้ทางโรงพิมพ์ต้องมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจปรู้ฟงานหรือ
ตรวจคำผิดอีกครั้งหนึ่งซึ่งพอผ่านการปรู้ฟงานแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การส่งไฟล์งานให้ทางผู้ผลิตไปดำเนินการต่อ สำหรับไฟล์งานที่จะ เตรียมให้ทางผู้ผลิตนั้น ต้องเป็นไฟล์กราฟิกส์ พร้อมรูปภาพประกอบ และส่ิงสำคัญก็คือควรแนบฟอนด์ที่ใช้งานไปด้วยเพราะปัญหาเรื่องฟอนด์นั้น หากทางผู้ผลิตไม่มีฟอนด์ก็จะทำให้ทำงานต่อไปไม่ได้

ไฟล์งานส่วนใหญ่ที่นักดีไซน์นิยมใช้กันในงานออกแบบสิ่งพิมพ์นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์กราฟฟิกส์ในตระกูลAdobe ซึ่งไม่ว่าจะเป็น photoshop, lustrator, Indesign, Acrobat เป็นต้น

ในส่วนของผู้ผลิตสิ่งพิมพ์นั้น เมื่อได้รับไฟล์งานจากทางลูกค้าแล้ว อันดับแรกก็คือต้องมีผู้ชำนาญงานคอยตรวจสอบไฟล์งานว่าครบ
ถ้วนหรือไม่หากไฟล์งานไม่สมบูรณ์จะได้แจ้งปัญหา หากไฟล์งานสมบูรณ์ไม่มีปัญหาก็จะได้ส่งไปทำเพลทต่อไป

ขั้นตอนการทำเพลท

ในขั้นตอนนี้บางโรงพิมพ์ก็จะส่งให้ผู้ผลิตในส่วนของแม่พิมพ์ทำการแยกสีและทำเพลท แต่บางโรงพิมพ์ซึ่งมีการทำเพลทเองก็จะส่งให้แผนกเพลททำการแยกสีเพื่อทำแม่พิมพ์ต่อไป

ปัญหาส่วนใหญ่ของขั้นตอนนี้ก็คือการแยกสีของเพลทในระบบการพิมพ์ออฟเซ็ทนั้น การแยกสีจะต้องแยกสีในโหมดการพิมพ์ระบบ CMYK (ซึ่งได้กล่าวไว้ในหัวข้อการพิมพ์ cmyk) สิ่งสำคัญที่สุดในขั้นตอนนี้ก็คือ บุคลากร เพราะเป็นหัวใจหลักของการพิมพ์การแยกสีอย่างถูกต้องนั้น ทำให้โรงพิมพ์ทำงานง่ายและผลงานที่ออกมามีคุณภาพและสวยงามตามที่ต้องการ

ดังนั้นแล้วธุรกิจงานแยกสีจึงแยกออกมาจากโรงพิมพ์ดังที่ทางโรงพิมพ์ เรียกกันว่า "ร้านเพลท" คือทำหน้าที่ขายเพลทให้กับทางโรงพิมพ์ คุณภาพนั้นวัดกันที่ความเร็วและการแยกสีอย่างมีคุณภาพและถูกต้อง

หลักการทำงานคร่าว ๆ ของร้านแยกสี ก็คือ

รับไฟล์จากทางโรงพิมพ์เพื่อทำการแยกสีทำเพลท ถ้าเป็นหนังสือนอกจากการแยกสีแล้ว จะต้องวางเลย์หน้าหนังสือตามดัมมี่เลย์ของโรงพิมพ์ หลายท่านอาจจะไม่เข้าใจว่าดัมมี่เลย์คืออะไร? อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ
ก็คือ การวางหน้าหนังสือในขั้นตอนพิมพ์ เพื่อให้การจัดเข้าเล่มเรียงหน้าได้อย่างถูกต้อง การทำดัมมี่เลย์จะต้องเป็นผู้ที่มีความเชีียวชาญเป็นอย่างมาก เพราะหากมีการผิดพลาดหรือการใส่เลขหน้าสลับกัน ก็มีผลในการเข้าเล่มทันที ซึ่งหากเป็นงานที่พิมพ์ไปแล้วก็จะเกิดความเสียหายกับโรงพิมพ์

(อ่านต่อในตอนที่ 3)

Comments

Leave your comment