Image 01

ลักษณะและชนิดของไม้อัด

เรามารู้จักกับไม้อัดชนิดต่าง ๆ ที่พวกเราใช้กันอยู่เป็นประจำกันสักนิด

ไม้อัด (Plywood)

เป็นผลิตภัณฑ์ ที่คงใช้พื้นฐานทางวัตถุดิบธรรมชาติ โดยถูกพัฒนากรรมวิธีการผลิต ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการใช้ไม้จริง (Solid Wood) ที่มีขนาดหน้ากว้างมากๆ ที่ปัจจุบันการเจริญเติบโตของป่าไม้ในประเทศไทย ไม่ทันต่อการตอบสนองในการใช้งาน จึงต้องมีการพัฒนาการใช้ต้นไม้ ที่มีหน้ากว้างขนาดเล็ก, เป็นไม้ทั่วไป ที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว และหาได้ง่าย นำมาดัดแปลง เพื่อใช้งานแทน ไม้อุตสาหกรรมต่างๆ ที่นับวันเริ่มหาได้ยากขึ้นทุกทีภายในประเทศ ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านแทน โดยส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบัน จะไม่ได้เป็นขนาดที่ระบุแน่นอน เท่ากับขนาดความหนาของไม้อัดนั้นๆ ที่ใช้กันอยู่ เพราะขนาดของไม้อัด ขึ้นอยู่กับคุณภาพ และโรงไม้แต่ละโรงที่ผลิตออกมา เพราะฉะนั้นการเรียกไม้อัด บางครั้ง จึงต้องมีการเรียกคุณภาพของไม้กำกับไว้ด้วย เช่นไม้อัดบางนา 10 มม.ความหนาของไม้อัดในตลาดทั่วไป โดยทั่วไปที่นิยมเรียกกัน จะมีความหนาอยู่ที่ 3, 4, 6, 10, 12, 15 และ 20 มม

ลักษณะทั่วไปของไม้อัด
1. มีความแข็งแรงทนทานสูง มีความคงตัวไม่ยืดหด และแตกง่าย
2. สามารถตอกตะปูหรือใช้ตะปูควงขันใกล้ขอบแผ่น หรือทุกส่วนได้รอบด้าน
3. สามารถตัด เลื่อย และฉลุได้ง่าย ไม่แตกหัก สามารถโค้งงอได้โดยไม่ฉีกหัก
4. เป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี
5. สามารถเก็บความร้อน และเสียงได้ดีกว่าไม้ธรรมดา
6. สามารถรับน้ำหนักได้ในอัตราที่สูงกว่าไม้ธรรมดา
7. ไม้อัดจากลาว จะมีสีแดงกว่าจากอินโดนีเซีย และมาเลเซีย

 

 

 

 

 

 

 

 


กรรมวิธีในการผลิตไม้อัด

1. เริ่มจากกระบวนการนำซุง เปิดปีกไม้ โดยเครื่องเลื่อยสายพาน คือการตัดเปลือกนอกออก ให้เหลือเนื้อไม้ตามหน้าตัดซุง เป็นสี่เหลี่ยม 
2. ส่งซุงเข้าต้ม เพื่อให้ไม้นิ่ม และดำเนินการสไลด์ตามแนวยาวตามขนาดท่อนซุง ออกมาเป็นแผ่นเยื่อไม้บางๆ (ซึ่งเรียกได้อีกอย่างว่าวีเนียร์) ความหนาอยู่ที่ประมาณ 0.8 -1.2 มม. 
3. นำวีเนียร์ที่ได้ ผ่านเครื่องตัด เพื่อตัดริมขอบวีเนียร์ ให้เป็นเส้นตรง และตัดความยาวที่เกินมากไป 
4. (ขั้นตอนนี้ โดยส่วนมาก จะใช้เฉพาะเกรด B ขึ้นไป ถ้าเป็นเกรดต่ำๆ หน่อย จะอาศัยวางเรียงกันโดยไม่ทำตามขั้นตอนนี้) นำวีเนียร์ ที่ตัดริม มาเย็บให้ติดกัน โดยใช้กระดาษกาวสำหรับปิดวีเนียร์ หรืออาจจะใช้เครื่องเย็บวีเนียร์ ที่เป็นลักษณะใช้เส้นกาวเย็บแทนเส้นด้าย จนได้หน้ากว้างประมาณ 1240 มม.,ความยาวประมาณ 2450 มม. และ หน้ากว้างประมาณ 2450 มม., ความยาวประมาณ 1240 มม. 
5. นำวีเนียร์ที่ได้ ทากาวลาเท็กซ์อุตสาหกรรม  โดยมาวางเป็นชั้นๆ สลับลายตามแนวขวางลาย และตามแนวขนานลาย ( ที่ต้องวางสลับลายระหว่างชั้นเช่นนี้ เพื่อให้เกิดการดึงตัวระหว่างผิวภายในที่เท่ากันทั้ง 2 ด้าน ไม่ให้เกิดการบิดตัวโก่งงอ เมื่อทำเป็นแผ่นสำเร็จ ) จนได้ความหนาที่ต้องการ แต่จะวางทับเป็นชั้นเลขคี่เสมอ ถ้าเป็นไม้อัดเกรดดีหน่อย มักจะวางชั้นให้ได้ความหนาเกินขนาดที่ต้องการไว้ก่อน 
 6. นำวีเนียร์ที่วางเสร็จแล้ว ขึ้น Hot Press (เครื่องอัดแรงดันสูง  เครื่องนี้จะเป็นเครื่องอัดทับ ขนาดใหญ่ ที่มีแผ่นความร้อน ถ่ายผ่านจากบอยล์เลอร์ เข้ามา ปรับตั้งอุณหภูมิได้เกิน 100 องศาขึ้นไป ) อัดทับลงไป เพื่อให้แผ่นวีเนียร์อัดประสานติดกัน พร้อมเนื้อกาว
 
( การอัดทับลงไป ทำให้เกิดการยุบตัวของเนื้อวีเนียร์ ซึ่งคำนวนเป็นค่ายุบตัวมาตรฐานค่อนข้างยาก สำหรับวัตถุดิบทางธรรมชาติ ทำให้แผ่นไม้อัดที่ผลิตออกมา ค่าความหนาไม่ค่อยคงที่)
 
ไม้อัดมีหลายชนิดดังตัวอย่างต่อไปนี้
 
1. ไม้อัดจีน
2. ไม้อัดเกล็ดเรียงชิ้น (Oriented Strand Board [OSB])
3. ไม้อัดมาเลเซีย, อินโดนิเซีย
4. ไม้อัดเคลือบดำ
5. ไม้อัดหน้าสยาแดง
     และไม้อัดชนิดอื่นๆ

การเลือกไม้อัด
1. สีของไม้อัดต้องสม่ำเสมอตลอดแผ่น                                                                              

2. เหมาะสมกับงานที่จะใช้                                                                                                      

3. มีความเรียบแต่ไม่ลื่นทาสีได้ทุกชนิด                                                                                  

4. มีน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายได้สะดวก

 

* ขอบคุณข้อมูล http://www.onlinewoodmarket.com

By : onlinewoodmarketDecember 22, 2016Interior, Furniture Built in0 comments

Comments

Leave your comment